เทศบาลตำบลเมยวดี

Moei Wadi Subdistrict Municipality

ข้อมูลทั่วไป


ออนไลน์ : 58

หัวข้อ :: ข้อมูลทั่วไป

ข้อมูลทั่วไป
สภาพทั่วไปของเทศบาลตำบลเมยวดี
 

สภาพทั่วไป
1.1 ที่ตั้ง เทศบาลตำบลเมยวดี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันเฉียงเหนือของจังหวัดร้อยเอ็ด มีระยะห่างจากตัวจังหวัดร้อยเอ็ด 72 กิโลเมตร
โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้

ทิศเหนือ          ติดต่อกับ     เทศบาลตำบลบุ่งเลิศ
ทิศใต้              ติดต่อกับ     องค์การบริหารส่วนตำบลกกโพธิ์
ทิศตะวันออก    ติดต่อกับ     องค์การบริหารส่วนตำบลภูเขาทอง
ทิศตะวันตก      ติดต่อกับ     เทศบาลตำบลชมสะอาด

1.2 เนื้อที่ เทศบาลตำบลเมยวดีมีเนื้อที่ประมาณ 40.50 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 25,313 ไร่
1.3 ลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบสูง สภาพดินทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย มีลำห้วยกลอยไหลผ่าน
1.4 ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไป มีอากาศร้อนจัดและแห้งแล้งในฤดูร้อนและมีอากาศหนาวเย็นในฤดูหนาว
1.5 จำนวนหมู่บ้าน เขตการปกครอง เทศบาลตำบลเมยวดี มีเขตการปกครองจำนวน 11 หมู่บ้าน ดังนี้

 

หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน ผู้นำ   ตำแหน่ง
1 บ้านหนองสองห้อง นายคารม เรียบจ้อก้อ กำนัน
2 บ้านหนองนกเขียน นายพงษ์ศักดิ์ เยื่อใย ผู้ใหญ่บ้าน
3 บ้านสว่างเหนือ นายดำรงณ์ แสงใสย ผู้ใหญ่บ้าน
4 บ้านหนองเมย นายสงกา กล้าหาญ ผู้ใหญ่บ้าน
5 บ้านหนองสำราญ นางอุทัย แสงใสย์ ผู้ใหญ่บ้าน
6 บ้านใหม่สถานี นายมงคล ทับทิมหิน ผู้ใหญ่บ้าน
7 บ้านใหม่พัฒนา นายเลิศรัตน์ น้ำบุ่น ผู้ใหญ่บ้าน
8 บ้านราษฎรสามัคคี นายจงใจหาญ ศรีดี ผู้ใหญ่บ้าน
9 บ้านใหม่สามัคคี นายสมชาย ยศบุญ ผู้ใหญ่บ้าน
10 บ้านคำม่วงหวาน นายเกษร แสงสุข ผู้ใหญ่บ้าน
11 บ้านทุ่งนาทอง นายสาคร ศรีวะรมย์ ผู้ใหญ่บ้าน

1.6 ประชากร
      ประชากรทั้งสิ้น                     5,680 คน
      ประชากรชาย                        2,857 คน
      ประชากรหญิง                       2,823 คน
      จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 1,650 ครัวเรือน
1.7 การศึกษา
1 สถานศึกษาภาคบังคับ มีจำนวน 2 แห่ง คือ
      โรงเรียนอนุบาลเมืองเมยวดี   เป็นโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 
      โรงเรียนบ้านหนองสองห้อง   เป็นโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 
      โรงเรียนอนุบาลสงกรานต์     เป็นโรงเรียนประถมศึกษา เป็นโรงเรียนเอกชน
2 สถานศึกษาเด็กก่อนเกณฑ์ มีจำนวน 2 แห่ง คือ
      ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหมู่ 5 หนองสำราญ
      ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหมู่ 6 วัดคู่เมือง
1.8 ฐานข้อมูลเกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ข้อมูลเกี่ยวกับศาสนสถาน

ลำดับที่

ชื่อ

หมู่ที่

ชื่อเจ้าอาวาส (ปัจจุบัน)

จำนวน

พระสงฆ์

1

วัดโพธิ์ศรีชัยเจริญราช

9

พระอาจารย์ศรสินชัย  ญโสธโร

4  รูป

2

วัดศรีสายรัตน์

9

พระครูสุนทร  กิตโกศล

5  รูป

3

วัดป่าศรีเมยวดี

8

พระครูศิริ  ธรรมวดี

5  รูป

4

วัดภูดิน

8

ที่พักสงฆ์

3  รูป

5

วัดคู่เมือง

6

พระสมุห์  สุรพล สุธิญาโน

6  รูป

6

วัดศรีสว่างอาราม

3

พระครูประโชต์  ยานคุณ

5 รูป


ข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรม/ประเพณี

ลำดับที่

ประเพณี/วัฒนธรรม

ประวัติความเป็นมา/ความสำคัญ

ช่วงเวลา

สถานที่ปฏิบัติ

1

วันมาฆบูชา

วันมาฆบูชา  เป็นสำคัญวันหนึ่งของพระพุทธศาสนา  เป็นที่รู้กันว่าเป็นวันเกิดพระธรรม   ถือว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้า  ได้ประกาศหลักธรรมคำสอนของพระองค์  เพื่อให้พระอรหันต์ทั้งหลาย  ที่มาประชุมพร้อมกันในวันนั้น  นำไปเผยแผ่

วันขึ้น 15 ค่ำ  เดือน 4

- ศาสนาสถานในพื้นที่

2

ประเพณีวันสงกรานต์

ประเพณีสงกรานต์   ถือเป็นประเพณีวันขึ้นปีใหม่ไทย ที่ถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมาแต่โบราณ เป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่งดงามและฝังลึกเข้าไปในชีวิตของคนไทยมานาน    มีการทำบุญตักบาตร   สรงน้ำพระ  รดน้ำขอพรผู้สูงอายุให้อยู่เย็นเป็นสุข  และกิจกรรมต่างๆ

วันที่ 12- 15 เมษายน ของทุกปี

 - ครอบครัว  ชุมชน  หมู่บ้าน

เขตเทศบาลตำบลเมยวดี  ศาสนสถานในพื้นที่ ฯ

3

วันวิสาขบูชา

การบูชาในวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือนวิสาขะ หรือเดือน 6  เนื่องในโอกาสวันคล้ายวัน พระพุทธ      เจ้าประสูติ  ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพานพุทธศาสนิกชนจะบำเพ็ญกุศล ทำบุญตักบาตร  บริจาคทาน  ปฏิบัติธรรมที่วัด  รักษาศีล  ไหว้พระ  สวดมนต์  ฟังธรรม  เวียนเทียน  เจริญภาวนา  ฯ

วันขึ้น15 ค่ำ    เดือน 6

 - ศาสนาสถานในพื้นที่

4

วันเข้าพรรษา

การเข้าพรรษาเป็นพุทธบัญญัติ  ซึ่งพระภิกษุสงฆ์  ทุกรูปจะต้องปฏิบัติตาม หมายถึง การอธิฐานอยู่ประจำที่ไม่เที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ   เว้นแต่มีกิจจำเป็นจริงๆ    ช่วงจำพรรษาจะอยู่ในช่วงฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน  มีประเพณีสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย   คือ ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษาและประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน

วันแรม 1 ค่ำ

เดือน 8

 - ศาสนาสถานในพื้นที่

5

วันอาสาฬหบูชา

 

 

การบูชาในวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8   เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก   โดยการแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสปตนมฤคทายวัน  จนพระอัญญาโกณฑัญญะ  ได้          บรรลุธรรม  และขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธ-ศาสนา  จนถือได้ว่า  เป็นวันแรกที่มีพระพุทธ    พระธรรม

และพระสงฆ์  ครบเป็นองค์รัตนตรัย

วันขึ้น 15 ค่ำ

เดือน 8

- ศาสนาสถานในพื้นที่

6

วันเฉลิมพระชนมพรรษา

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

 

วันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  ผู้ทรงประทานความรัก  ความเมตตา  และเสียสละความสุขส่วนพระองค์  ส่งเสริมอาชีพ   เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต  องค์กรและหน่วยงานต่างๆ    ได้จัดที่ไว้สำหรับลงนามถวายพระพร    และมีการจัดกิจกรรม/โครงการเทิดพระเกียรติฯ เช่น การบำเพ็ญประโยชน์    รณรงค์  เผยแพร่  ประชาสัมพันธ์พระราชกรณียกิจด้านต่างๆ  การจัดนิทรรศการ   ประดับธงชาติตามสถานที่ราชการ  อาคาร บ้านเรือน ทำบุญตักบาตรเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล  ร่วมพิธีถวายพระราชสดุดี ฯ

วันที่ 12 สิงหาคมของทุกปี

 

- ครอบครัว  ชุมชน  หมู่บ้าน

อบต.  อำเภอ

จังหวัด ฯ

7

ประเพณีสารทเดือนสิบ

ประเพณีสารทเดือนสิบมีมาตั้งแต่พุทธกาล   คาดว่าเมื่อพระพุทธศาสนาเผยแพร่เข้ามาในนครศรีธรรมราช   เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ   ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว  และเป็นโอกาสหนึ่งที่ได้รวมญาติพบปะพี่น้องที่อยู่ห่างไกล  มีการทำขนมต่างๆ   มากมาย  เช่น  ขนมไข่ปลา  ขนมลา  พอง  บ้า ดีซำ กง ก้านบัวฯ เพื่อจัดหมรับหรือสำรับถวายพระสงฆ์   ซึ่งทางวัดจะได้เก็บไว้เป็นเสบียงในช่วงฤดูฝน

วันแรม 1 ค่ำ  ถึง

แรม 15 เดือนสิบ

 

 - ศาสนาสถานในพื้นที่

8

วันออกพรรษา

วันออกพรรษา  หมายถึง  วันที่พ้นจากข้อกำหนดทางพระวินัยที่ต้องอยู่ประจำที่   หรือในวัดแห่งเดียวตลอด  3 เดือน   พระสงฆ์ได้ทำปวารณา   เปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนเรื่องความประพฤติของตน    เพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์  ความเคารพนับถือและสามัคคีกัน   เมื่อออกพรรษาแล้วจะได้นำความรู้จากหลักธรรมและประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างพรรษาไปเผยแผ่แก่ประชาชน   พุทธศาสนิกชนจะไปทำบุญทำทาน    รักษาศีลและฟังธรรมเป็นกรณีพิเศษ

วันขึ้น 15 ค่ำ

เดือน 11

- ศาสนาสถานในพื้นที่

9

ประเพณีการทอดกฐิน 

 

 

 

 

 

 

การทอดกฐิน คือ การนำผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์อย่างต่ำ 5 รูป  แล้วให้พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ได้รับมอบหมายจากคณะสงฆ์ทั้งนั้นเป็นเอกฉันท์ให้เป็นผู้รับกฐินนั้น     การทอดกฐินในแต่ละปีกำหนด

ให้มีการจัดทอดกฐินขึ้นภายใน 1 เดือน    หลังวันออกพรรษา  โดยวัดที่จะสามารถรับกฐินได้ ต้องมีพระภิกษุจำพรรษาโดยไม่ขาดพรรษาเลย   แต่ละวัดสามารถรับกฐินได้ปีละ 1 ครั้ง  การทอดกฐินนั้น  มีหลายประเภท ในพื้นที่ตำบลสระแก้วส่วนใหญ่จะเป็นกฐินสามัคคี   ที่มีเจ้าภาพร่วมกัน  จะมีการตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการ  แล้วมีหนังสือบอกบุญไปยังผู้อื่นด้วย

แรม 1 ค่ำ 

เดือน 11  ถึง

กลางเดือน 12

- ศาสนาสถานในพื้นที่

10

ประเพณีลอยกระทง

 

 

ลอยกระทง   เป็นประเพณีที่

สำคัญ  ได้สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณ    โดยมีความเชื่อหลายประการ  เช่น แสดงความสำนึกถึงบุญคุณของแม่น้ำที่เราได้อาศัยน้ำกินน้ำใช้  การขอขมาต่อพระแม่คงคาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงไปในน้ำ    การสะเดาะเคราะห์    และสิ่งไม่ดีต่างๆ   ให้ลอยตามแม่น้ำไปกับกระทง  และยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวอีกด้วย

วันเพ็ญ(ขึ้น 15 ค่ำ)

เดือน 12

ในพื้นที่ตำบล

และใกล้เคียง

11

วันเฉลิมพระชนมพรรษา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

วันที่ระลึกคล้ายวันพระบรม

ราชสมภพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ  พระผู้ทรงกอปรด้วยพระวิริยะอุตสาหะ บำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ  ด้วยพระราชประสงค์ที่จะให้ประชาชนทุกหมู่เหล่า  ไม่เลือกชาติ  ศาสนา  ที่อยู่ใต้พระบรมโพธิสมภารและประเทศชาติ  มีความผาสุก และเจริญก้าวยิ่งๆขึ้น  องค์กรและหน่วยงานต่างๆ ได้จัดที่ไว้สำหรับลงนามถวายพระพร    และมีการจัดกิจกรรม/โครงการเทิดพระเกียรติฯ เช่น การบำเพ็ญประโยชน์   รณรงค์  เผยแพร่  ประชาสัมพันธ์พระราชกรณียกิจด้านต่างๆ การจัดนิทรรศการ   ประดับธงชาติตามสถานที่ราชการ  อาคาร บ้านเรือน   ทำบุญตักบาตรเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล  และร่วมพิธีถวายพระราชสดุดี ฯ

วันที่ 5 ธันวาคม

ของทุกปี

 - ครอบครัว  ชุมชน  หมู่บ้าน

อบต.  อำเภอ

จังหวัด ฯ

12

วันธรรมสวนะ

“วันธรรมสวนะ”  เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า    “วันพระ”  หมายถึงการฟังธรรมของชาวไทยพุทธ เมื่อถึงวันธรรมสวนะ คือ วันขึ้น 8 ค่ำ  แรม 8 ค่ำ และ วันขึ้น 15 ค่ำ  แรม 15 ค่ำ  พุทธศาสนิกชนจะเตรียมอาหาร  ผลไม้   เครื่องสักการะไปวัดเพื่อถวายแด่พระภิกษุสงฆ์

รวมทั้งรักษาศีล เจริญจิตภาวนา

และฟังธรรมเทศนา

ทุกวันธรรมสวนะ

- ศาสนาสถานในพื้นที่

13

พิธีกรรมเกี่ยวกับการแต่งงาน

 

 

พิธีกรรมเกี่ยวกับการแต่งงาน สมัยโบราณมีขั้นตอนต่างๆ หลายขั้นตอน เริ่มจากการเกี้ยวพาราสี การทาบทาม การสู่ขอ และการแต่งงาน   เมื่อขบวนเจ้าบ่าวไปถึงบ้านเจ้าสาว

มักจะถูกปิดทางไม่ให้เข้าไป  ต้องมีการจ่ายค่าผ่านทาง    ญาติเจ้าสาวจะจูงมือเจ้าบ่าวไปในห้องประกอบพิธี    เมื่อได้มีการตรวจสอบสินสอดทองหมั้น

เรียบร้อยแล้ว  จึงประกอบพิธีสงฆ์  ถวายภัตตาหาร  แล้วมีพิธีกราบหมอน    เจ้าบ่าวมอบของขวัญให้เจ้าสาว     เป็นอันเสร็จพิธีและมีการเลี้ยงแขก   ตกค่ำจะมีพิธีห้องหอให้คู่บ่าวสาว  เรียกว่า  “การเรียงสาดเรียงหมอน”

มีการดูฤกษ์ยาม

วันดี ได้ตลอดทั้งปี 

 

ส่วนใหญ่จะจัดบ้านเจ้าสาว

หรือสถานที่ต่างๆ  ตามความสะดวก

14

ประเพณีการบวชนาค

ตามประเพณีชายไทย อายุ 20 ปีบริบูรณ์    จะต้องบวชทดแทนบุญคุณพ่อแม่     การบวช

สมัยก่อนต้องบวชกัน 1 พรรษาปัจจุบันระยะเวลาอาจจะน้อย เช่น 7 วัน  15 วัน  30 วัน  การบวชถือได้ว่า  ผู้บวชจะได้ศึกษาถึงหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อจะนำไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัด  มีความอดทนอดกลั้น   และเข้าใจโลกธรรม

มีการดูฤกษ์ยาม

วันดี ได้ตลอดทั้งปี 

 

- ศาสนาสถานในพื้นที่

15

ประเพณีบุญบั้งไฟ

ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งของภาคอีสานของไทยรวมไปถึงลาว โดยมีตำนานมาจากมาจากนิทานพื้นบ้านของภาคอีสานเรื่องพระยาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทานพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึงการที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชาพระยาแถน หรือเทพวัสกาลเทพบุตร ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้

ประมาณปลายเดือน พ.ค - ต้นเดือนมิ.ยของทุกปี

ชุมชน หมู่บ้าน

อำเภอ


 
วันที่ : 3 กันยายน 2567   View : 2108